Social Icons

Featured Posts

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี 2.0 Pandora

แพนดอร่า คือ บริการฟังวิทยุระบบสตรีมมิ่ง มีโปรแกรมทั้งบนคอม และมือถือ แต่ที่ผ่านมาสถิติของแพนดอร่าระบุว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญกับพฤติกรรมผู้บริโภค นั่นคือ
* ต้นปีที่แล้ว 88% ฟังผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (โดยช่วงเวลาที่ใช้งานมากที่สุดคือ 9 โมงเช้า – 6 โมงเย็น ซึ่งเป็นเวลางาน)
* แต่ปีนี้ 70% ฟังจากมือถือ (ซึ่งช่วงเวลาที่ใช้งานมากที่สุดคือ 7-9 โมงเช้า และ1-3 ทุ่ม)
ทำให้เห็นชัดว่าคนฟังวิทยุผ่านสื่อมือถือเป็นหลัก ตัวเลขนี้ส่งผลให้ ปีที่แล้วปีเดียว แพนดอร่าได้รายได้จากค่าโฆษณาบนแอปฯ ถึง 3,000 ล้านบาท!!! แซงหน้าแม้กระทั่งระบบ iAD ของแอปเปิล!
เหตุผลที่ทำให้แพนดอร่าเนื้อหอมสำหรับสินค้าต่างๆ คืออะไร เราจะวิเคราห์ให้ฟัง
* แอปฯ ฟังวิทยุเป็นแอปฯ ที่ฟังแล้วติด เวลาฟังจะใช้เวลานั้น ดังนั้นจึงมีเวลาอยู่กับแอปฯ มาก โอกาสการเห็นโฆษณาก็มากขึ้นด้วย
* ตัวแอปฯ มีคลื่นวิทยุที่แบ่งตามรสนิยมอย่างชัดเจน ซึ่งหมวดของเพลงก็จะสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น สถานีเพลงป๊อปฮิต ก็มักจะได้โฆษณาเป็นแบรนด์สินค้าขนมขบเคี้ยวของวัยรุ่น เป็นต้น ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลให้แพนดอร่ารับลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นด้วย

การให้อาหารนกกระจอกเทศ

.นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ป่ามาก่อนที่จะนำมาเลี้ยงในระบบฟาร์มพืชจึงเป็นอาหารหลักของนกกระจอกเทศ นกกระจอกเทศจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินพืช (Herbivorus) แต่ก็ใช่ว่านกกระจอกเทศจะกินแต่พืชอย่างเดียว แมลงต่างๆ หนอน หรือสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ๆ นกกระจอกเทศก็จิกกินเช่นกัน เนื่องจากนกกระจอกเทศสามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ในทุ่งหญ้าที่แห้งแล้งไม่สมบูรณ์ สัตว์อื่น ๆ เช่น วัว หรือแกะอยู่ไม่ได้ แต่นกกระจอกเทศก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ทั้งนี้เพราะนกกระจอกเทศสามารถย่อยสลายสารอาหารที่มีกากใยได้สูง 40-60%......กระเพาะของนกกระจอกเทศจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระเพาะบด (Gizzard) เหมือนไก่ แต่ไม่มีกระเพาะพัก (Crop) และมีกระเพาะแท้ เหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ เป็นต้น ดังนั้น นกกระจอกเทศจึงสามารถย่อยอาหารที่มีกากใยได้เป็นอย่างดี
.....สำหรับการเลี้ยงในระบบฟาร์มอาหารของนกกระจอกเทศมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะผู้เลี้ยงต้องการผลผลิตจากนกกระจอกเทศสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นไข่ เนื้อ หนัง หรือ ขนก็ตาม เนื่องจากต้นทุนในการผลิตจะเป็นค่าอาหาร 60-70% ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศจะเป็นสัตว์กินพืชและย่อยสลายอาหารที่มีใยสูง ๆ ได้ดี แต่ความต้องการโภชนะก็จะต้องครบถ้วนตรงตามความต้องการทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้องให้การดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี นกกระจอกเทศกินอาหารข้นในปริมาณ 2-3% ของน้ำหนักตัว
ตาราง อายุ น้ำหนักตัว และอาหารที่กินในแต่ละช่วงอายุ
ขนาด
อายุ (เดือน)
น้ำหนักตัวนก (กก.)
อาหารที่กิน (กก.)
ลูกนก
0-1
1-2.5
0.75-3
3.00-15
0.12
0.36
นกเล็ก
2.5-6
15-60
1.5
นกรุ่น
6-11
11-14
60-80
80-100
2.5
2.2
พ่อ-แม่พันธุ์ (ดำรงชีวิต)
>14
100-120
2.3
พ่อ-แม่พันธุ์ (ช่วงผสมพันธุ์)
>30
100-120
2.5

......ทั้งนี้ผู้เลี้ยงจะต้องคอยสังเกตดูจากตัวนกกระจอกเทศเองด้วย ว่ากินอาหารเพียงพอ อ้วนหรือผอมอย่างไร เพราะบางครั้งให้อาหารมาก นกโตเร็ว ขาจะรับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้ขาแบะ และเสียหายได้

ตาราง ปริมาณความต้องการโภชนะในอาหารนกกระจอกเทศ
โภชนะ
ลูกนก (เดือน)
นกรุ่น (เดือน)
พ่อ-แม่ พันธุ์
0-1
1-2
2-5
6-11
11-14
ดำรงชีวิต
ผสมพันธุ์
พลังงาน
2800
2700
2500
2400
2300
2400
2600
โปรตีน
22
18
16
14
12
12
15
เยื่อใย
7
10
12
14
16
30
16
แคลเซียม
1.5
1.5
1.2
1.2
1.2
1.2
2.9
ฟอสฟอรัส
0.75
0.75
0.6
0.6
0.6
0.6
0.9
ไลซีน
1.2
1.0
0.85
0.60
0.60
0.50
0.70
เมทไธโอนีน
0.45
0.36
0.30
0.22
0.22
0.19
0.27
ทริโอนีน
0.25
0.21
0.18
0.13
0.13
0.10
0.13
ทริปโตเฟน
1.0
0..86
0.73
0.52
0.52
0.48
0.67
ไอโซซีน
1.0
0.86
0.73
0.52
0.52
0.48
0.67
อาร์จีนีน
1.38
1.15
0.98
0.69
0.69
0.57
0.80
......เนื่องจากใจแต่ละท้องถิ่นมีวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่จะนำมาใช้ประกอบสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศแตกต่างกันไป แต่เพื่อให้ได้อาหารที่ดี มีคุณภาพ จึงมีข้อควรพิจารณาในการผสมอาหารสำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศ ดังนี้
1.ต้องตรงกับความต้องการของนกกระจอกเทศในแต่ละรุ่น ขนาดพันธุ์
2.มีความน่ากิน ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศจะมีต่อมรับรสไม่มากนัก แต่ก็จะเลือกกินอาหารจากลักษณะที่ปรากฏ เช่นสีสัน รูปร่าง หรือกลิ่น
3.ไม่ควรเปลี่ยนสูตรอาหารหรือยี่ห้ออาหารจากสูตรหนึ่งไปใช้อีกสูตรหนึ่งอย่างทันทีทันใด ควรจะค่อยๆ เปลี่ยนทีละน้อยเพื่อให้นกกระจอกเทศคุ้นเคยเสียก่อน
4.อาหารควรมีส่วนผสมของเยื่อใยจากพืช ในสูตรอาหารนั้น ๆ ด้วยเพื่อกระตุ้นในการย่อยด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าอาหารนั้นควรจะมีปริมาณเยื่อใย 15% นอกจากนี้ควรเสริมด้วยหญ้าสด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตั้งไว้ให้นกจิกกินด้วยก็จะดี
......ระบบการย่อยอาหารในลูกนกและนกรุ่นจะยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ดังนั้นสูตรอาหารควรจะมีเยื่อใยจำกัด แต่มีโปรตีนสูง เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต ขณะเดียวกันก็จะต้องระมัดระวังเรื่องแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต เพราะจะทำให้ลูกนกอ้วนเกินไป จนทำให้ขารับน้ำหนักไม่ไหว เกิดขาเป๋หรือพิการได้
.....
ตาราง ความต้องการอาหารของนกกระจอกเทศแต่ละอายุ
ชนิดของอาหาร
อายุ(เดือน)
พลังงาน (kcal/อาหาร 1กก.)
โปรตีน (%)
เยื่อใย (%)
ลูกนก
0-3
2,500-2,800
20-22
7-10
นกรุ่น
4-10
2,400-2,500
12-16
14-15
นกขุน
11-14
2,300-2,400
14-16
14-16
พ่อแม่พันธุ์(ช่วงผสมพันธุ์)
>24
2,400-2,600
14-16
14-16

น้ำ
......น้ำที่จะให้นกกระจอกเทศกินจะต้องใส สะอาด ไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป และควรมีน้ำตั้งไว้ให้นกกระจอกเทศกินตลอดเวลา ปริมาณน้ำที่นกกระจอกเทศกินขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและชนิดของอาหาร ถ้าอากาศร้อนนกกระจอกเทศจะกินน้ำมากกว่าวันที่อากาศเย็น หรือกินอาหารที่มีหญ้าสดผสมอยู่ด้วย ก็จะกินน้ำน้อยกว่ากินอาหารข้นอย่างเดียว แต่โดยเฉลี่ยแล้วนกกระจอกเทศจะกินน้ำวันละประมาณ 9-12 ลิตรสิ่งสำคัญที่ควรระวัง คือ ไม่ควรตั้งภาชนะที่ใส่ไว้ในที่โล่งแจ้งหรือกลางแดด เพราะจะทำให้น้ำในภาชนะนั้นกลายเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนซึ่งนกกระจอกเทศไม่กินน้ำตลอดวัน เป็นสาเหตุให้นกท้องผูกหรือมีโรคอื่น ๆ ตามมา

หิน กรวด
......เนื่องจากนกกระจอกเทศไม่มีฟันที่จะใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องหาสิ่งทดแทนที่จะช่วยย่อยอาหารที่นกกระจอกเทศกินเข้าไปในสภาพธรรมชาตินกกระจอกเทศจะจิกกินก้อนกรวด ก้อนหิน หรือทรายหยาบจากพื้นดินเพื่อไปช่วยบดอาหารในกึ๋น ดังนั้น การเลี้ยงในระบบฟาร์มก็จำเป็นจะต้องจัดหาหิน กรวด หินเกร็ดเล็ก ๆ ตั้งไว้ให้นกกระจอกเทศกิน แต่จะต้องคอยสังเกตด้วยว่าอย่าให้นกกระจอกเทศกินมากเกินไปจนทำให้ไปอุดตันในระบบทางเดินอาหาร

อาหารสำหรับลูกนกกระจอกเทศ (อายุ 0-3 เดือน)
.....ลูกนกในช่วงอายุ 3 เดือนแรกจะมีอัตราการตายสูงมากกว่าช่วงอายุอื่น ๆ ซึ่งจะมีสาเหตุมาจากการจัดการและอาหาร ดังนั้นเพื่อการป้องกันการสูญเสียดังกล่าว ผู้เลี้ยงจะต้องเอาใจใส่ดูแลลูกนกเป็นอย่างดี น้ำ อาหารจะต้องเหมาะสม ครบถ้วนตรงตามความต้องการของลูกนก ในระยะนี้ลูกนกต้องการอาหารที่มีโปรตีน 20% พลังงาน 2,500 – 2,800 กิโลแคลอรี และมีพืชผักสดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตั้งไว้ให้นกจิกกิน ซึ่งในระยะสองสัปดาห์แรกจะให้ครั้งละน้อย ๆ แล้วเพิ่มปริมาณของหญ้าสดตามอายุของลูกนกที่เพิ่มขึ้น หรืออาจจะปล่อยให้ลูกนกลงไปจิกกินเองในแปลงหญ้าก็ได้ แต่แปลงหญ้านี้จะต้องสะอาด ปราศจากยาฆ่าแมลง หรือมีสิ่งแปลกปลอมตกหล่นอยู่ เช่น ตะปู ลวด กระดุม เศษพลาสติก เป็นต้น เพราะนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ขี้สงสัย เห็นอะไรตกหล่นอยู่ก็จะจิกกินซึ่งจะทำให้นกกระจอกเทศเป็นอันตรายได้
.....
นอกจากนี้การปล่อยให้ลูกนกออกไปเดินเล่นและกินหญ้าในแปลงหญ้า จะทำให้ลูกนกได้ออกกำลังกาย ขาก็จะแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งจะได้รับวิตามินดี (D3) จากแสงแดดอีกด้วย


วิธีการให้อาหารลูกนก
.....ลูกนกเกิดใหม่จะยังมีไข่แดงอยู่ในช่องท้อง ซึ่งจะใช้เวลา 2-3 วัน เพื่อย่อยไข่แดงดังกล่าวนี้ ดังนั้น ในระยะ 3-4 วันแรกที่ลูกนกออกจากไข่ จึงไม่จำเป็นต้องให้กินอาหาร ส่วนใหญ่จะนิยมนำอาหารและน้ำมาตั้งให้ลูกนกกินหลังจากลูกนกออกจากตู้เกิดแล้ว 1-2 วัน ในระยะแรกลูกนกจะยังไม่รู้จักที่ให้น้ำและอาหาร ดังนั้น ถ้าผู้เลี้ยงไม่ให้ความสนใจที่จะสอนให้ลูกนกรู้จักที่ให้น้ำและอาหาร ลูกนกอาจอดน้ำหรืออาหารตาย หรือไม่ก็พิการได้ จึงควรนำลูกนกไปตรงที่ตั้งภาชนะใส่น้ำและอาหาร แล้วจับปากลูกนกให้สัมผัสน้ำและอาหารเพื่อลูกนกจะได้เรียนรู้
....ดังได้กล่าวมาแล้วว่า นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ขี้สงสัยและชอบสีสันและชอบสีสันจึงทำให้ในบางครั้งผู้เลี้ยง จะใส่ลูกบอลสีต่าง ๆ หรือลูกปิงปองในภาชนะที่ให้น้ำและอาหารเพื่อให้ลูกนกสนใจและไปจิกกินอาหารและน้ำ โดยทั่วไปแล้วลูกนกชอบอาหารที่มีรูปร่างแปลก ๆ และหญ้าสด อาหารสำหรับลูกนกจะประกอบด้วยพลังงาน 2,500-2,800 กิโลแคลอรี โปรตีน 20% แต่มีเยื่อใยต่ำ คือไม่เกิน 7% อัตราส่วนของแคลเซียม (Ca) และฟอสฟอรัส (P) ต้องเหมาะสมโดยบางครั้งอาจจะเสริมด้วยเปลือกหอยหรือกระดูกป่น
.....ลูกนกในระยะนี้จะกินอาหารวันละประมาณ 10-40 กรัม และจะเพิ่มปริมาณขึ้นตามน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ลูกนกจะต้องการอาหารข้นวันละ 1.5-3% ของน้ำหนักตัว ลูกนกจะมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ซึ่งจะทำให้ขาที่มีขนาดเล็กรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วไม่ไหว อาจทำให้ลูกนกขาพิการได้จึงควรจำกัดปริมาณอาหารและให้กินอาหารวันละ 2-4 ครั้ง โดยให้กินอาหารครั้งละน้อย ๆ และหมดภายใน 1 ชั่วโมง
.... 
หลังจากนั้นอาจให้พืชผักสดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ลูกนกกินครั้งละน้อย ๆ วันละ 3-4 ครั้ง โดยเลือกให้ลูกนกกินเฉพาะส่วนที่เป็นใบ เมื่อลูกนกอายุมากขึ้น จะกินอาหารที่มีเยื่อใยได้มาขึ้นถึง 20% ของปริมาณอาหารข้นสำหรับผู้เลี้ยงที่ใช้ผักสดที่เหลือจากตลาด หรือตัดหญ้าตามที่สาธารณะทั่วไปจะต้องระมัดระวังในเรื่องยาฆ่าแมลง หรือยากำจัดวัชพืช ซึ่งถ้าไม่แน่ใจควรจะล้างด้วยด่างทับทิมเสียก่อนที่จะหั่นให้นกกิน
.....
ส่วนน้ำจะต้องมีให้กินตลอดเวลา โดยจะต้องเป็นน้ำที่ใส สะอาด ภาชนะที่ใส่น้ำและอาหารจะต้องทำความสะอาดทุกวัน อาหารที่เหลือค้างอยู่ในรางจะต้องไม่นำกลับมาใช้อีก และจะต้องระวังไม่ให้ลูกนกจิกกินอุจจาระที่ลูกนกถ่ายออกมาเพราะจะทำให้ท้องเสียหรือเป็นโรคอื่น ๆ ได้ จึงควรที่จะทำความสะอาด เก็บกวาดขึ้นกออกทิ้งบ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วง 3-5 วันแรก

อาหารสำหรับนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4-10 เดือน)
.....ในระยะนี้ลูกนกกระจอกเทศต้องการอาหารที่มีพลังงาน 2,400 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 14-15% และเยื่อใย 14% และจะกินอาหารวันละ 1.0-1.5 กิโลกรัมแต่เมื่อลูกนกอายุมากขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มจะอยู่ในอัตราที่ลดลง จึงทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหาระเป็นเนื้อเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็จะสามารถกินอาหารที่มีเยื่อใยได้มากขึ้นด้วย  ....ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศในระยะนี้จะต้องการการดูแลเอาใจใส่น้อยกว่าในระยะ 3 เดือนแรก แต่ก็ไม่ควรประมาทจนขาดความเอาใจใส่ โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพอาหารจะต้องตรงตามความต้องการและมีปริมาณที่เพียงพอ น้ำจะต้องใสสะอาด เสริมอาหารด้วยหญ้าหรือผักสด หรือปล่อยให้นกกระจอกเทศไปจิกกินเองในแปลงหญ้า ที่สำคัญต้องหมั่นตัดหญ้าให้สั้นอยู่เสมอ เพราะนกกระจอกเทศชอบกินหญ้าที่ต้นสูงไม่เกิน 5 นิ้ว และนกจะจิกกินเฉพาะส่วนส่วนปลายใบเท่านั้น


อาหารสำหรับนกกระจอกเทศขุน (อายุ 11-14 เดือน)
.....นกกระจอกเทศที่อายุ 8-10 เดือน จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 65-95 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ อาหาร และการจัดการ สำหรับนกกระจอกคอแดง อายุ 10 เดือน น้ำหนักอาจจะถึง 100 กิโลกรัม ซึ่งสามารถส่งตลาดได้แล้ว 
.... ในบางแห่งจะซื้อขายกันที่น้ำหนัก 90-95 กิโลกรัม แต่บางแห่งอาจจะต้องการที่น้ำหนัก 100-110 กิโลกรัม อาหารที่นกกระจอกเทศระยะนี้ต้องการคือ มีพลังงาน 2,400-2,500 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 12-16% และเยื่อใย 16%
 .....ระยะนี้นกกระจอกเทศจะกินอาหารวันละ 1.5-2.0 กิโลกรัม ทั้งนี้หญ้าหรือพืชผักจะต้องมีให้กินหรือจะปล่อยในแปลงหญ้าก็ได้ และที่ขาดไม่ได้ คือ น้ำสะอาดต้องมีให้กินตลอดเวลา 
..... ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศจะสามารถทำการขุนนกกระจอกเทศได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน ทั้งนี้ผู้เลี้ยงจะต้องเอาใจใส่ในเรื่องน้ำหนักตัวกับขาเป็นพิเศษแต่ถ้าขุนที่อายุ 6 เดือน เป็นต้นไปจะเสี่ยงน้อยกว่า เพราะนกกระจอกเทศมีพัฒนาการของขาดีมากแล้ว
 
.... สำหรับนกกระจอกเทศที่ต้องการจะเก็บไว้ทำพันธุ์นั้น ในช่วงอายุ 14 เดือนขึ้นไปถึงก่อนไข่ เป็นช่วงที่นกกระจอกเทศไม่ให้ผลผลิตแต่อย่างใดและเป็นช่วงที่นกโตเต็มที่แล้ว ผู้เลี้ยงสามารถลดคุณภาพอาหารลงได้ เพราะนกต้องการอาหารแค่ดำรงชีพเท่านั้น โดยอาจจะให้อาหารที่มีโปรตีน 12-14% พลังงาน 2,000-2,200 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เยื่อใย 18-20% ให้กินวันละ 1,200-1,500 กิโลกรัม และมีผัก หญ้าสด เสริมให้มากขึ้น แต่ต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา

ตาราง อัตราการเจริญเติบโตของนกกระจอกเทศที่อายุต่าง ๆ
อายุ (สัปดาห์)
อัตราการเจริญเติบโต (กก.)
2-3
2.5-2.7
3-4
5.5-5.7
4-5
4.7-4.8
5-6
6.5-6.7
6-7
6.5-6.7
7-8
8.7-8.8

อาหารสำหรับนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปีขึ้นไป)
.....อาหารที่ใช้เลี้ยงจะประกอบด้วย พลังงาน 2,400-2,600 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 14-16% และเยื่อใย 16% ซึ่งการให้อาหารนกกระจอกเทศในช่วงนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. ช่วงผสมพันธุ์ (Breeding Season)
2. 
นอกฤดูผสมพันธุ์ (Off Season).....นกกระจอกเทศในช่วงผสมพันธุ์จะมีความต้องการอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนสูงเพื่อใช้ในการสร้างไข่ ซึ่งถ้าอาหารดีตรงตามความต้องการจะทำให้พ่อ-แม่พันธุ์สมบูรณ์และให้ผลผลิตไข่ที่มีเชื้อดีด้วย เพราะพ่อ-แม่พันธุ์ที่ดีจะสามารถพิจารณาได้จาก


  • ให้ผลผลิตไข่มาก
  • เปอร์เซ็นต์ไข่มีเชื้อสูง
  • อัตราการฟักออกเป็นตัวมาก
  • อัตราการเลี้ยงรอดมาก ลูกนกกระจอกเทศแข็งแรง
  • ....นอกจากนี้จะต้องพิจารณาอัตราส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัสด้วย (Ca:P) โดยทั่ว ๆ ไปอัตราส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสจะเท่ากับ 1:0.5-0.6 าในสูตรอาหารมีแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้ไปหยุดยั้งการทำงานของแมงกานีสและสังกะสีซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการมีเชื้อของไข่ ....สำหรับอาหารนกกระจอกเทศนอกฤดูผสมพันธุ์ เป็นอาหารที่กินเพื่อดำรงชีพนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพดีมากนัก สามารถให้พืชหญ้าได้มากขึ้น จนเมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์อีกจึงจะขุนให้นกกระจอกเทศมีร่างกายสมบูรณ์ แต่ไม่อ้วนเกินไป เพราะถ้านกอ้านมาก จะทำให้มีไขมันไปเกาะอยู่ตามระบบสืบพันธุ์ เป็นเหตุให้ผลผลิตลดลง

    พันธุ์นกกระจอกเทศ

    นกกระจอกเทศจัดเป็นสัตว์ในตระกูล Ratites ซึ่งเป็นสัตว์ปีกที่บินไม่ได้ มีด้วยกัน 5 ชนิด แบ่งแยกอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของโลก คือ
    1. นกกีวี (Kiwi) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศด้วย ขนาดตัวไม่ใหญ่ โตเต็มที่จะมีน้ำหนักเพียง 3-4 กิโลกรัม เท่านั้น
    2. นกเรีย (Rhea) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ขนาดตัวใหญ่กว่านกกีวี มีน้ำหนักประมาณ 20-30 กิโลกรัม สูง 1.20-1.50 เมตร
    3. นกแคสโซวารี (Cassowary) มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคเหนือของประเทศออสเตรเลีย และในประเทศปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea) สูงประมาณ 1.3-1.5 เมตร มีน้ำหนัก 50-60 กิโลกรัม ขนสีดำเป็นมันตลอดลำตัวที่ใบหน้าจะมีหนังเป็นสีต่าง ๆ สวยงามมาก
    4. นกอีมู (Emu) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปออสเตรเลีย ขนสีน้ำตาลปนดำ ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ สูงประมาณ 1.3-1.6 เมตร มีน้ำหนัก 40-60 กิโลกรัม นิยมเลี้ยงเพื่อใช้น้ำมันมาทำเครื่องสำอาง เนื้อสามารถบริโภคได้
    5. นกกระจอกเทศ (Ostrich) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลนี้ ตัวผู้จะมีน้ำหนักประมาณ 100-165 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 90-125 กิโลกรัม สูงประมาณ 1.50-2.50 เมตร มีลักษณะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ให้ผลผลิตที่มีมูลค่ามากนับตั้งแต่หนัง เนื้อ ขน ไข่ และน้ำมัน

    ในปัจจุบันได้มีการนำนกกระจอกเทศมาปรับปรุงพันธุ์และเลี้ยงเป็นการค้ากันทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันนี เนเธอแลนด์ และในทวีปออสเตรเลีย ในอเมริกานั้นเลี้ยงนกกระจอกเทศมากกว่า 3,000 ฟาร์ม หรือแม้แต่ในเอเชียก็มีการเลี้ยงที่ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยก็มีการเลี้ยงบ้างแล้วแต่ไม่มากนัก

    นักวิทยาศาสตร์ (Smith, 1963) จำแนกนกกระจอกเทศออกเป็น 4 ประเภท คือ

    1. Struthio camelus (Linnaeus) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาเหนือ (North Africa)
    2. Struthio molybdophanes (Reichennow) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบโซมาเลีย (Somalia)
    3. Struthio massaicus (Neumann) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก (East Africa)
    4. Struthio australis (Gurney) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาใต้ (South Africa) ซิมบับเว นามิเบีย และบอสวานา

    สำหรับนกกระจอกเทศที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาเลี้ยงเป็นการค้าในปัจจุบันนี้ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

    1.พันธุ์คอแดง (Red Neck)
    ซึ่งพัฒนามาจากพันธุ์ S.camelus และ S.massaicus นกกระจอกเทศพันธุ์นี้จะมีลักษณะผิวหนังสีชมพูเข้ม ตัวผู้จะมีขนสีดำตลอดลำตัว ยกเว้นขนปลายหาง และขนปลายปีกจะมีสีขาว ส่วนตัวเมียจะมีสีน้ำตาลเทา มีขนาดตัวใหญ่มาก สูง 2.00-2.75 เมตร มีน้ำหนัก 105-165 กิโลกรัม ให้ผลผลิตเนื้อมาก แต่ไข่น้อย ตัวผู้ค่อนข้างดุ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์

    2.พันธุ์คอน้ำเงิน (Blue Neck)
    พัฒนามาจากพันธุ์ S.molybdophanes และ S.australis พันธุ์นี้จะมีลักษณะผิวหนังสีฟ้าอมเทา สีขนจะเหมือนกับพันธุ์คอแดง แต่ตัวจะเล็กกว่าเล็กน้อย ให้เนื้อน้อยกว่าพันธุ์คอแดง แต่ให้ไข่มากกว่า

    3.พันธุ์คอดำ (Black Neck African Black)
    พัฒนามาจากพันธุ์ S.camelus และ S.australis ลักษณะผิวหนังจะมีสีเทาดำ เท้าและปากสีดำ ตัวเล็ก ให้ผลผลิตเนื้อน้อย แต่ให้ไข่มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ และให้ผลผลิตขนที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้ยังมีนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันโดยทั่วไป

    การเลี้ยงนกกระจอกเทศ

     นกกระจอกเทศจัดเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ก่อนพุทธกาล ที่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกจนถึงยุคโลก
    จนถึงยุค โลกาภิวัตน์เป็นสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาซึ่งป่าแอฟริกาจะเป็นป่าโปร่งมีทุ่งหญ้ากว้างไกล
    มีพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง มีบางส่วนเป็นทะเลทราย คนแอฟริกันจะมีความคุ้นเคยกับนกกระจอกเทศเกือบทุกส่วน ตั้งแต่เนื้อ ไข่สำหรับบริโภค หนังทำเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ เปลือกไข่ไว้บรรจุน้ำหรือทำเครื่องประดับ และขนทำเครื่องประดับของเผ่า เป็นต้น
             กล่าวได้ว่า การทำฟาร์มนกกระจอกเทศนั้นเริ่มต้นเกิดขึ้นในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ต่อมาการทำ
    ฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศแพร่หลายเพิ่มขึ้นในทวีปต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ อิสราเอล
    ออสเตรเลีย และจีน เป็นต้น นับได้ว่าปัจจุบันมีฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศไม่น้อยกว่า 5,000 ฟาร์มทั่วโลก
     

    Sample text

    Sample Text

    Sample Text